วันเสาร์ที่ 30 สิงหาคม พ.ศ. 2551

บทความต่อ ข้าวแช่โบราณ (ต้นตำรับจากเมืองเพชรบุรี)



ส่งกลิ่นหอม น้ำที่นำมาใส่ข้าวแช่จึงได้อิทธิพลของดอกไม้เหล่านี้ด้วย นิยมใช้ดอกไม้ไทยที่มีกลิ่นหอมเย็น ส่วนน้ำที่ใช้แต่เดิมมักใช้น้ำฝนปัจจุบันมีน้ำแร่ของไทยชนิดไม่อัดแก๊สบรรจุขวดก็นำมาใช้แทนกันได้ดี เวลาเตรียมมักใส่น้ำลงในหม้อดินมีฝาปิด เพื่อให้น้ำนั้นเย็นกว่าอุณหภูมิภายนอก เวลาจะกินสมัยก่อนใช้เกล็ดพิมเสนโรยลงในน้ำเพียงสองสามเกล็ดเพื่อให้เย็นชื่นใจยิ่งขึ้น แต่ปัจจุบันหันไปใช้น้ำแข็งทุบละเอียดแทน "ลูกกะปิทอด" ถือว่าเป็นหัวใจสำคัญของกับข้าวแช่ จะดูกันว่าข้าวแช่ของใครที่มีฝีมือก็ต้องพิจารณากันที่ลูกกะปิทอด ถัดมาก็มีพริกหยวกสอด , ปลายี่สนผัดหวาน ,หัวหอมสอดไส้, ผักกาดเค็มผัดหวาน, ปลาแห้งผัดหวาน, หมูสับกับปลากุเลา คือเครื่องเคียงที่นิยมรับประทานแกล้มกับข้าวแช่ ที่ลืมไม่ได้เลยคือผักสดแกะสลัก เมื่อกับข้าวแช่ส่วนใหญ่เป็นของทอด ผักที่ให้กลิ่นหอมและรสออกเปรี้ยวและขื่นนิด ๆ ไว้ตัดรส แตงกวา มะม่วงดิบ ต้นหอม กระชาย และพริกชี้ฟ้าสด จึงถูกนำมาจัดกินแนบกับกับข้าวแช่ การกินข้าวแช่ก็ยังต้องมีวิธีการกินเช่นกัน เริ่มจากนำข้าวในในน้ำลอยดอกไม้ให้สัดส่วนน้ำมากกว่าข้าวใส่น้ำแข็งพอให้เย็นชื่นใจ เวลาจะกินให้ตักกับข้าวใส่ปากแล้วตักข้าวตาม ก็จะได้รสชาติทั้งเย็นฉ่ำและความอร่อยกลมกล่อมของกับข้าว

นี่คือสิ่งที่แสดงถึงวัฒนธรรมการกินของไทยที่งดงาม ละเอียดอ่อน ไม่แพ้ชาติใดในโลก เป็นมรดกทางวัฒนธรรมที่บรรพบุรุษได้สร้างสรรค์จากจินตนาการทิ้งไว้ให้กับชนรุ่นต่อ ๆ มา เมื่อครั้งที่วัฒนธรรมจากตะวันตกยังมาไม่ถึง นับว่าเป็นความภาคภูมิใจที่ชนรุ่นหลังควรรักษาไว้ให้ยั่งยืนสืบต่อไป

เครื่องปรุง

ส่วนประกอบ ข้าวสาร 1 ส่วน น้ำสะอาด 6 ส่วน

วิธีทำ ซาวข้าวให้สะอาด ใส่น้ำตามส่วน ตั้งไฟคอยคนอย่าให้ไหม้ พอเดือดขนาดเช็ดน้ำได้ รินน้ำทิ้งให้หมด ล้างข้าวด้วยน้ำเย็นหลายๆ ครั้ง จนกว่าข้าวจะเย็น ใส่น้ำในลังถึง ตั้งไฟจนเดือด ปูผ้าขาวบางบนลังถึง เทข้าวที่ล้างแล้วลงไป เกลี่ยให้กระจายทั่ว นึ่งประมาณ 10 นาที หรือดูจนข้าวสุก ทิ้งไว้ให้เย็น เวลากินตักข้าวใส่ชาม ตักน้ำลอยดอกไม้สดใส่ น้ำแข็งนิดหน่อย กินกับเครื่องเคียง

เครื่องเคียงข้าวแช่ 1. หัวผักกาดเค็มผัด

ส่วนประกอบ: หัวผักกาดเค็มหั่นฝอย ไข่ น้ำตาลทราย

วิธีทำ: ล้างหัวผักกาดเค็มให้สะอาด หั่นฝอย ผัดกับไข่ ใส่น้ำตาลให้ออกรสหวาน

2. ปลาช่อนแห้งผัด

ส่วนประกอบ: ปลาช่อนเค็ม น้ำตาลทราย

วิธีทำ: นึ่งปลาพอสุก ฉีกให้เป็นฝอย ทอดให้กรอบแล้วผัดกับน้ำตาลให้พอมีรสหวาน

3. พริกหยวกสอดไส้

ส่วนประกอบ: หมูสับ 1/2 ก.ก , กุ้งสับ 10 ,กระเทียมพริกไทยโขลกรวมกัน 1 ช.ต. ,น้ำปลา 1/1/2 ช.ช.

น้ำตาล 1 ช.ต. , พริกหยวก

วิธีทำ: เคล้าหมู กุง กระเทียมพริกไทยให้เข้ากัน ปรุงรสด้วยน้ำปลา น้ำตาล ต่อยไขใส่ 1 ฟอง ปั้นเป็นแท่งยาว

ทอดใส่หมูที่ทอดลงในพริกหยวกที่คว้านใส้ออก นึ่งในลังถึงน้ำเดือดพล่าน 5 นาที พอเย็นบีบน้ำออกให้

หมด ต่อยไข่ที่เหลือ ตีพอแตก ใช้มือชุบไข่แล้วโรยขวางไปมาในกระทะที่ใส่น้ำมันพอลื่นและใช้ไฟอ่อน สุก

แล้วลอกห่อพริกให้รอบ

4. หอมสอดไส้

ส่วนประกอบ: หอมแดง 20 หัว ,รากผักชีกระเทียมพริกไทยโขลกรวมกัน 1 ช.ต. ,เนื้อปลาช่อนนึ่ง 1 ตัว ,น้ำ 1 ช.ต.

น้ำปลา 1-2 ช.ต ,เกลือป่น 1 ช.ช., แป้งข้าวเจ้า 1 ถ้วย, หัวกระทิคั้นด้วยน้ำปูนใส 1 ถ้วย,ไข่ 1 ฟอง

วิธีทำ: ปอกเปลือกหอมคว้านใส้ออก สับส่วนที่คว้านออกมาให้ละเอียด ผักรากผักชีฯ ให้หอม ใส่หอมสับ เนื้อปลา

น้ำ หัวกะทินิดหน่อย ปรุงรสด้วยน้ำปลา เกลือชิมรสตามชอบ พักไว้ให้เย็นแล้วใส่หัวหอมที่คว้านไว้ นวด

แป้งข้าวเจ้ากับหัวกะทิโดยค่อย ๆ ใส่กะทิทีละน้อยจนเป็นเนื้อเดียวกันและข้นขนาดนมข้น หยิบหอมลงชุบ

แล้วทอดให้เหลือง

5. กะปิทอด

ส่วนประกอบ: กระชาย 7 ราก, ตะไคร้ 2 ต้น, ข่า 5 แว่น, ผิวมะกรูด 1 ช.ช. , รากผักชี 1 ช.ช., หอมแดง 9 หัว

กระเทียม 1 ช.ต., เนื้อปลาดุกย่าง 1 ตัว ,น้ำปลาและน้ำตาลอย่างละ 1 ช.ต., ไข่ 3 ฟอง, แป้งข้าวเจ้า

1 ช.ต.

วิธีทำ: โขลกกระชาย ตะไคร้ ข่า ผิวมะกรูด รากผักชี หอมแดง กระเทียมให้ละเอียด ใส่กะปี เนื้อปลาดชกให้เข้า

กัน ปรุงรสด้วยน้ำปลาน้ำตาล ผัดจนแห้ง ยกลง ทิ้งไว้ให้เย็น ปั้นเป็นก้อนกลม ๆ เล็ก ๆ ให้เท่ากัน ต่อยใข่

แล้วตีให้แตก ใส่แป้ง คนให้เข้ากัน นำกะปิที่ปั้นไว้ลงชุบแล้วทอดให้เหลือง

ข้อมูลแหล่งที่มา: http://www.monstudies.com

http://edunews.eduzones.com

ข้าวแช่โบราณ (ต้นตำรับจากเมืองเพชรบุรี)


ข้าวแช่ ต้นตำรับจากเมืองเพชรบุรี
ภูมิปัญญาชาวบ้าน (ข้าวแช่เมืองเพชรบุรี)
ข้าวแช่ เป็นภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมด้านอาหารการกินของชาวเพชรบุรี เป็นอาหารที่เหมาะกับฤดูร้าอน แก้กระหายได้เป็นอย่างดี นิยมทำเป็นอาหารว่าง
รับประทานในครอบครัว หรือทำบุญเลี้ยงพระในเทศกาลตรุษและสงกรานต์
จังหวัดเพชรบุรีมีร้านจำหน่ายข้าวแช่อยู่หลายแห่งในตลาด ซึ่งจะจำหน่าย
ตลอดทั้งปี ในอดีตนิยมขายข้าวแช่ในวัดมหาธาตุ วัดพระนอน ถ้ำเขาหลวง ถ้ำเขา
บันไดอิฐ และสนามหน้าเขาวัง เพียงราคา ชุดละ 1-2 สตางค์เท่านั้น ปัจจุบันราคาชุดละ 5-10 บาทขึ้นไป ข้าวแช่ตำรับเมืองเพชรดั้งเดิม นิยมใส่ดอกระดังงาไทยในน้ำอบข้าวแช่ ซึ่งเป็นหม้อดินขนาดใหญ่ สามารถเก็บความหอมและ
ความเย็นได้เป็นอย่างดี ซึ่งข้าวแช่ของที่อื่นอาจจะมีเพียงแค่ดอกมะลิกับกลีบกุหลาบโรยในน้ำ ที่อบควันเทียนเท่านั้น ส่วนกับข้าวที่รับประทาน กับข้าวแช่ของ
เมืองเพชรต้องมีรสหวานนำ และรสเค็มตาม มีเพียง 3 อย่างเท่านั้น คือ ลูกกะปิ ปลากระเบนผัดหวาน และผักกาดเค็มผัดหวาน จึงอาจแตกต่างไปจาก ตำรับ
ข้าวแช่ชาววัง หรือข้าวแช่ที่อื่น ซึ่งมีเครื่องเคียงเพิ่มขึ้นอีกหลายอย่าง เช่น พริกหยวกสอดไส้ หอมแดงสอดไส้ หมูสับปลาเค็มทอด ฯลฯ
ร.อ. ขุนชาญใช้จักร รน. เล่าว่า เมื่อครั้งพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 4 เสด็จประทับแรม ณ พระนครคีรี เจ้าพนักงานต้อง
ตั้งเครื่องข้าวแช่และขนมขี้หนูของเมืองเพชรรวมอยู่กับพระกระยาหารที่เสวยมื้อกลางวันเสมอ เพราะทรงโปรดปรานเป็นพิเศษ เวลานั้นภรรยาข้าราชการ
ชั้นผู้ใหญ่ของเมืองเพชรบุรี ต้องผลัดเปลี่ยนกันทำกับข้าวแช่ส่งไปยังห้องต้นเครื่องเพื่อจัดเสวยขึ้นโต๊ะทุกครั้ง เหตุนี้ต่อมาทางจังหวัดจึงได้ถือเป็นธรรมเนียมสืบ
มาที่จะทูลเกล้าฯ ถวายข้าวแช่และขนมขี้หนู (ขนมทราย) เป็นพระกระยาหารว่างทุกครั้ง ที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรม
ราชินีนาถ และพระบรมวงศานุวงศ์ เสด็จพระราชดำเนินมายังจังหวัดเพชรบุรี
วิธีทำข้าวแช่มีดังนี้
1. วิธีหุงและขัดเมล็ดข้าว นำข้าวสารเก่าเมล็ดงาม อย่างดี มาซาวน้ำจนสะอาด ใช้ไฟแรงหุงจนสุก หรืออาจตั้งน้ำในหม้อจนเดือดแล้วค่อยใส่ข้าวสาร
ก็ได้ พอข้าวสุกโดยมีไตเล็กน้อย จึงเทลงในตระแกรง แล้วแช่น้ำสะอาดในชามอ่างขนาดใหญ่ ใช้ฝ่ามือค่อย ๆ ยีขัดผิวนอกของเมล็ดข้าวที่ยุ่ยออกจนหมด เหลือเพียงแกนในที่แข็งไว้ค่อยเปลี่ยนน้ำในอ่างจนเหลือเมล็ดข้าวเป็นเงา จากนั้น นำลงผึ่งในภาชนะซึ่งรองด้วยผ้าขาวบาง หรืออาจนำไปนึ่งอีกครั้ง เพื่อไม่ให้ข้าวบูด
หรือเสียง่ายถ้าเก็บไว้นาน
2. กับข้าวรับประทานกับข้าวแช่ ต้นตำรับเดิมของเมืองเพชรบุรี มีเพียง 3 อย่างเท่านั้น คือ ลูกกะปิ ปลากระเบนผัดหวาน และผักกาดเค็มผัดหวาน
อย่างไรก็ตามหากทำบุญเลี้ยงพระเป็นพิเศษ อาจเพิ่มเติมเนื้อเค็มฝอยผัดหวาน หรือปลาช่อนผัดหวานก็ได้
__________________________________________
ข้าวแช่ เป็นส่วนประกอบในเทศกาลสงกรานต์ของมอญ เป็นประเพณีสืบกันมาว่าใน วันสงกรานต์จะต้องทำข้าวแช่ถือว่าเป็นสิริมงคล
( ประวัติข้าวแช่ )
มีเรื่องราวเกี่ยวกับตำนานข้าวแช่ที่นำมาจากหนังสือเมืองโบราณ เรื่องมีอยู่ว่า มีเศรษฐีคนหนึ่งมั่งคั่งบริบรูณ์ด้วยทรัพย์สมบัติ แก้วแหวนเงินทอง ขาด
อยู่แต่ทายาทที่จะรับสืบทอดมรดกจึงไปบวงสรวงพระอาทิตย์พระจันทร์อยู่นาน จนล่วงเลยไป 3 ปี ยังไม่มีลูก เห็นทีจะไม่ได้ผล จึงเปลี่ยนไปบวงสรวงพระไทร
ซึ่งสิงสถิตต้นไม้ใหญ่ริมน้ำ ในการจัดเครื่องบวงสรวงครั้งนี้ เศรษฐีสั่งให้บริวารเอาข้าวสารเมล็ดงามล้างน้ำถึง 7 ครั้งจนบริสุทธิ์หมดมลทิน แล้วจึงหุงข้าวนั้น
เพื่อบูชาพระไทร ประกอบด้วยอาหารโอชารสอีกมากมาย ล้วนจัดทำประณีตทั้งสิ้น จากนั้นเศรษฐีจึงอธิษฐานขอบุตรจากพระไทร ฝ่ายพระไทรเห็นความพยายามของเศรษฐี ก็เมตตา จึงไปเฝ้าพระอินทร์ทูลขอบุตรให้เศรษฐีได้ผล พระอินทร์จึงโปรดให้เทวบุตรนามว่า "ธรรมปาล" จุติลงมาเกิดในครรภ์ภรรยา
เศรษฐี ฝ่ายเศรษฐียินดีปรีดามากตั้งชื่อลูกชายว่า "ธรรมบาลกุมาร" พร้อมสร้างปราสาทเจ็ดชั้นให้ลูกชาย เป็นที่มาของนิทางมาหาสงกรานต์ที่ได้ยินกัน
ขอขัดต่อมาที่เรื่องข้าวแช่ ว่าชาวมอญหุงข้าวแช่ในงานสงกรานต์ คงไม่ใช่เพื่อขอลูก แต่เพื่อถวายพระ และข้าวที่หุงนี้ไม่เหมือนกับที่กินหรือขายกันทั่ว
ไป แต่กรรมวิธีพิเศษพิสดารกว่า เช่น ต้องใช้ข้าวสารดีเยี่ยม 7 กำ ซ้อมข้าวนั้นให้ได้ 7 ครั้ง แล้วซาวน้ำบริสุทธิ์ 7 หน จึงนำมาหุง ตามประเพณีต้องหุงกลาง
แจ้ง ถ้าจะให้เต็มพิธีต้องปักราชวัตรฉัตรธงด้วย นอกจากถวายข้าวแช่พระแล้ว ข้าวแช่นี้ยังจะต้องจัดสังเวยเทวดาด้วย โดยปลูกศาลเพียงตาบริเวณบ้าน และสัง
เวยข้าวแช่เป็นเวลา 3 วัน ข้าวแช่ที่เหลืออยู่อาจนำไปให้ผู้เฒ่าผู้แก่ที่เคารพนับถือเพื่อเป็นสิริมงคล
ข้าวแชที่เราคุ้นเคยกันอยู่ทุกวันนี้ เรียกเต็ม ๆ แบบเพราะพริ้งว่า "ข้าวแช่เสวย" หรือ "ข้าวแช่ชาววัง" ซึ่งหมายถึงข้าวแช่ดอกไม้หอมเย็นชื่นใจ ที่
รับประทานกับเครื่องเคียง เช่น ลูกกะปิทอดสีส้มจัด เครื่องผัดหวานสีน้ำตาลเข้ม และผักสีสวยทั้งหมด
ข้าวแช่ชาววัง หรือ ข้าวแช่เสวยนี้ หมายถึงข้าวแช่ที่ชาววังจัดถวายรัชกาลที่ 5 แล้วทรงโปรดเป็นอย่างมาก หลังจากสิ้นรัชกาลที่ 5 ข้าวแช่ก็ออกสู่สังคม
แล้วกลายเป็นดารายอดฮิตประจำเมนูหน้าร้อน โดยเฉพาะช่วงสงกรานต์มาตั้งแต่นั้น ข้าวแช่ต้นตำรับที่มีชื่อ ก็มีของ ม.ล.เนื่อง นิลรัตน์ ผู้เคยทำงานอยู่ในห้องเครื่องต้นสมัยรัชกาลที่ 5 ท่านถือว่าเป็นคนแรก ๆ ที่ทำข้าวแช่ออกสู่ตลาด และมีจนถึงปัจจุบัน เสน่ห์ข้าวแช่อยู่ที่กรรมวิธีในการปรุง เพราะองค์ประกอบของข้าวแช่นั้นมีมากมาย เคล็ดลับในการทำและทานอรรถรสจึงอยู่ที่การสังเกตไปพร้อมกับการลิ้มรส ข้าวแช่ต้องมากับ "น้ำดอกไม้" ในฤดูดอกไม้ไทยต่างพา
กันชิงออกดอก

วันพฤหัสบดีที่ 21 สิงหาคม พ.ศ. 2551

นางนพมาศ


วรรณคดีเล่มนี้ มีชื่อเรียกกันอยู่ ๓ ชื่อ คือ นางนพมาศ , เรวดีนพมาศ , และตำรับท้าวศรีจุฬาลักษณ์ เชื่อกันว่าผู้แต่งคือ นางนพมาศ ธิดาของพราหมณ์ชื่อโชติรัตน์ รับราชการในตำแหน่งพระศรีมโหสถ สมัยพระร่วงเจ้า
กรุงสุโขทัย มารดาชื่อเรวดี เข้ามาถวายตัวเพื่อรับราชการในแผ่นดินพระร่วงเจ้า แล้วต่อมาได้เป็นสนมเอก ใน
ตำแหน่ง ท้าวศรีจุฬาลักษณ์
นางนพมาศเกิดในรัชกาลพญาเลอไทย กษัตริย์องค์ที่ ๔ แห่งราชวงศ์พระร่วง นางนพมาศนี้ สันนิษฐานว่ารับราชการในแผ่นดินพระมหาธรรมราชาที่ ๑ (ลิไท) ด้วยตามความในศิลาจารึกมีว่า ใน รัชกาลนี้ มีเหตุการณ์
แปลก ๆ หลายอย่างในทางขนบธรรมเนียมและศาสนา ดังนั้นประเพณีและพิธีพราหมณ์ที่นางนพมาศเขียนขึ้นน่า
จะเป็นเรื่องในรัชกาลนี้

เนื้อเรื่อง : เรื่องราวของหนังสือนี้ตอนต้น กล่าวถึงมนุษย์ชาติ จำแนกออกเป็นชมพูประเทศ มัชฒิมประเทศ ,
ปัจจันตประเทศ , และสิงหลประเทศ แล้วแยกภาษาออกเป็นภาษาต่าง ๆ ได้ เช่น ภาษาไ ทย ลาว เขมร พม่า รามัญ ทวาย กระแซ พราหมณ์ต่าง ๆ
ตอนต่อมากล่าวยอพระเกียรติพระร่วงเจ้า กล่าวถึง ไพร่ฟ้าประชาชนชาวสุโขทัยว่า ได้รับความสุขร่มเย็นเพราะพระองค์ปกครอง แล้วกล่าวถึงประวัตินาง
นพมาศเอง ตั้งแต่เกิด โตขึ้นได้ร่ำเรียนวิชาความรู้จากพระศรีมโหสถผู้บิดา จนกระทั่งบิดามารดาถวายนางให้เป็นสนมของพระร่วงเจ้าและเล่าถึงการที่บิดา
ลองปัญญา ก่อนที่นางจะเข้าไปอยู่ในวัง
สาระของเนื้อเรื่องสรุปแล้วจะมี :
๑. กล่าวถึงมนุษย์ชาติและภาษาต่าง ๆ
๒. ยอพระเกียรติพระร่วง กล่าวถึงความสุขสำราญของชาวสุโขทัย ว่าเป็นเพราะพระบารมีของพระร่วง
๓. ประวัติของนางนพมาศเอง
๔. คุณธรรมที่ดีของสนม
๕. รายละเอียดของพระราชพิธีต่าง ๆ
ลักษณะคำประพันธ์ : เป็นกลอนและร้อยแก้ว
ความมุ่งหมาย :
ผู้แต่งมีความมุ่งประสงค์ให้เรื่อง "นพมาศ" เป็นแบบฉบับแห่งการปฏิบัติตนแก่ข้าราชสำนักฝ่ายใน พระสนมกำนัลทั้งหลาย ให้มีกิริยามารยาท
ที่เหมาะสมกับศักดิ์ศรีของตนเองและเพื่อเชิดชูเกียรติยศกษัตริย์ ให้สนมทั้งหลายเห็นค่ารัตนของสตรี คือ สติปัญญาหนึ่ง รูปสิริโสภาคย์หนึ่ง มีชาติตระกูลทั้ง
ทรัพย์สมบัติหนึ่ง เช่น สอนเรื่องการแสดงคารวะยำเกรงด้วยการนบนอมหมอบคลานให้เรียบร้อยและให้ถูกต้องที่ต้องการ
นอกจากนี้ยังมีข้อความ ซึ่งแสดงถึงความสามารถของนางและข้อความ ซึ่งบันทึกราชประเพณีต่าง ๆ อีกมากมาย อาทิเช่นคำสอนที่น่าสนใจและ
มีคุณค่าคือ การหยั่งใจตนและการเรียนรู้อุปนิสัยของเจ้านายแล้วประพฤติตนให้สอดคล้อง อย่าเกียจคร้านในราชกิจทั้งปวงย่อมสอดส่งปัญญาหยั่งรู้พระราช
อัชฌาสัย แล้วจงประพฤติตามน้ำพระทัยให้ทุกสิ่ง อย่าเอาแต่ใจตัวเป็นประมาณ พึงมีอุตสาหุทุกเช้าค่ำ ทำราชการจงสม่ำเสมอ อย่าทำบ้างไม่ทำบ้างเป็นหมู่ ๆ
วับ ๆ แวม ๆ เหมือนแมลงหิ่งห้อย อย่ารักผู้อื่นมากกว่ารักตัว อย่ากลัวคนมีบุญมากเท่าเกรงเจ้า อย่าเข้าด้วยผู้กระทำความผิด จะเท็ดทูลสิ่งใดอย่าได้กล่าวเท็จแกม
จริง
นางนพมาศ หรือ ตำรับท้าวศรีจุฬาลักษณ์ เป็นวรรคดีฉบับสุดท้ายที่พูดถึงจริยธรรมในสมัยสุโขทัย ซึ่งเขียนโดยท้าวศรีจุฬาลักษณ์ เป็นหนังสือที่มี
คุณค่าท่างพิธีการ เพราะจะบอกถึงวิธีแรกนาขวัญทำอย่างไร มีพิธีพราหมณ์ นอกจากนี้ยังมีหลักสอนจริยธรรม กล่าวถึงหลักปกครองของพระมหากษัตริย์ และ
บุคคลทั่วไป กรมวรรณกรรมศิลปากร จัดให้อยู่ในสมัยสุโขทัยเพราะ
๑. มีการเรียบเรียงเป็นร้อยแก้ว มีภาษาคล้ายกันกับศิลาจารึก
๒. มีคำคมและสุภาษิตแทรก คล้ายกับสุภาษิตพระร่วง
๓. เหตุการณ์เป็นเรื่องที่เกี่ยวกับกรุงสุโขทัย
๔. มีข้อมูลเกี่ยวกับพิธีพราหมณ์ ซึ่งพิธีพราหมณ์ละเอียดมาก และเป็นแบบเก่า ไม่ได้กลับมาแบบอยุธยา เพราะฉะนั้นน่าจะเก่าถึงสมัยสุโขทัย

นางนพมาศผู้แต่งถึอกันว่าเป็นกวีหญิงคนแรก หนังสือเรื่องนางนพมาศนับว่าเป็นประโยชน์ในด้านการศึกษาทางประเพณีและขนบธรรมเนียมต่าง ๆ
ในราชสำนัก ตลอดจนความเป็นอยู่ของชาววัง เมื่อพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้า ฯ ทรงพระราชนิพนธ์พระราชพิธี ๑๒ เดือน ก็ทรงสอบสวนจากตำรับท้าว
ศรีจุฬาลักษณ์นี้ด้วย ในด้านสะท้อนให้เห็นถึงความรักสวยรักงามของหญิงไทย ก็นับว่าเรื่องนี้สะท้อนให้เห็นได้อย่างดี เพราะได้กล่าวถึงการประดิษฐ์ดอกไม้
และโคม ,พานขันหมาก เป็นต้น ส่วนในด้านอักษรศาสตร์มีประโยชน์ด้วย เพราะหนังสือเล่มนี้ถูกดัดแปลงต่อเติมในสมัยต่อมา เห็นได้ชัดที่วรรณกรรมเรื่องนี้
กล่าวถึงชาติมะริกา (อเมริกา) ซึ่งชาตินี้ยังไม่มีในสมัยสุโขทัย คำกลอนที่มีแทรกอยู่บางตอน ในวรรณคดีเรื่องนี้ ก็นับว่าเป็นคำกลอนที่แต่งแทรกขึ้นในสมัย
รัตนโกสินทร์นี่เอง เพราะตามหลักฐานคำประพันธ์ประเภทกลอนยังไม่มีในสมัยสุโขทัย และเชื่อกันว่า คำประพันธ์ประเภทกลอนน่าจะปรากฏครั้งแรกในสมัย
พระนารายณ์มหาราช อย่างไรก็ตามเนื้อเรื่องเกี่ยวกับพระราชพิธีต่าง ๆ นั้น เชื่อได้ว่าเป็นของสมัยสุโขทัย
คุณค่าและคุณประโยชน์:
๑. ด้านสังคม เล่าถึงชีวิตความเป็นอยู่และสภาพสังคมในสมัยสุโขทัย แสดงถึงความอุดมสมบรูณ์ของสุโขทัย ชื่น
ชอบทำบุญ และรื่นเริงจิตใจ
๒. ด้านวัฒนธรรมประเพณี กล่าวถึงการประพฤติปฏิบัติและการวางตนของสตรี ประเพณีของข้าราชการสำนัก
ฝ่ายใน
๓. ด้านอักษรศาสตร์ สำนวนอ่านง่าย ไพเราะ
๔. ด้านศิลปกรรม การประดิษฐโคมในการลอยประทีป การจัดพานพระ การจัดขันหมาก
๕. ด้านประวัติศาสตร์ ให้ความรู้เกี่ยวกับประวัติศาสตร์กรุงสุโขทัย โดยเฉพาะสมัยพระยาลิไท
๖. ด้านโบราณคดี ให้ความรู้ และรายละเอียดเกี่ยวกับพระราชพิธีต่าง ๆ




อ้างอิงแหล่งที่มา: ความรู้พื้นฐานทางวรรณคดี และวรรณกรรมเอกของไทย
ประจักษ์ ประภาพิทยากร
ภาควิชาภาษาไทย และภาษาตะวันออก
คณะมนุษย์ศาสตร์ ม.ศรีนครินทรวิโรฒ บางเขน
วรรณคดีสมัยสุโขทัย : http:// http://www.geocities.com/