
วรรณคดีเล่มนี้ มีชื่อเรียกกันอยู่ ๓ ชื่อ คือ นางนพมาศ , เรวดีนพมาศ , และตำรับท้าวศรีจุฬาลักษณ์ เชื่อกันว่าผู้แต่งคือ นางนพมาศ ธิดาของพราหมณ์ชื่อโชติรัตน์ รับราชการในตำแหน่งพระศรีมโหสถ สมัยพระร่วงเจ้า
กรุงสุโขทัย มารดาชื่อเรวดี เข้ามาถวายตัวเพื่อรับราชการในแผ่นดินพระร่วงเจ้า แล้วต่อมาได้เป็นสนมเอก ใน
ตำแหน่ง ท้าวศรีจุฬาลักษณ์
นางนพมาศเกิดในรัชกาลพญาเลอไทย กษัตริย์องค์ที่ ๔ แห่งราชวงศ์พระร่วง นางนพมาศนี้ สันนิษฐานว่ารับราชการในแผ่นดินพระมหาธรรมราชาที่ ๑ (ลิไท) ด้วยตามความในศิลาจารึกมีว่า ใน รัชกาลนี้ มีเหตุการณ์
แปลก ๆ หลายอย่างในทางขนบธรรมเนียมและศาสนา ดังนั้นประเพณีและพิธีพราหมณ์ที่นางนพมาศเขียนขึ้นน่า
จะเป็นเรื่องในรัชกาลนี้
เนื้อเรื่อง : เรื่องราวของหนังสือนี้ตอนต้น กล่าวถึงมนุษย์ชาติ จำแนกออกเป็นชมพูประเทศ มัชฒิมประเทศ ,
ปัจจันตประเทศ , และสิงหลประเทศ แล้วแยกภาษาออกเป็นภาษาต่าง ๆ ได้ เช่น ภาษาไ ทย ลาว เขมร พม่า รามัญ ทวาย กระแซ พราหมณ์ต่าง ๆ
ตอนต่อมากล่าวยอพระเกียรติพระร่วงเจ้า กล่าวถึง ไพร่ฟ้าประชาชนชาวสุโขทัยว่า ได้รับความสุขร่มเย็นเพราะพระองค์ปกครอง แล้วกล่าวถึงประวัตินาง
นพมาศเอง ตั้งแต่เกิด โตขึ้นได้ร่ำเรียนวิชาความรู้จากพระศรีมโหสถผู้บิดา จนกระทั่งบิดามารดาถวายนางให้เป็นสนมของพระร่วงเจ้าและเล่าถึงการที่บิดา
ลองปัญญา ก่อนที่นางจะเข้าไปอยู่ในวัง
สาระของเนื้อเรื่องสรุปแล้วจะมี :
๑. กล่าวถึงมนุษย์ชาติและภาษาต่าง ๆ
๒. ยอพระเกียรติพระร่วง กล่าวถึงความสุขสำราญของชาวสุโขทัย ว่าเป็นเพราะพระบารมีของพระร่วง
๓. ประวัติของนางนพมาศเอง
๔. คุณธรรมที่ดีของสนม
๕. รายละเอียดของพระราชพิธีต่าง ๆ
ลักษณะคำประพันธ์ : เป็นกลอนและร้อยแก้ว
ความมุ่งหมาย :
ผู้แต่งมีความมุ่งประสงค์ให้เรื่อง "นพมาศ" เป็นแบบฉบับแห่งการปฏิบัติตนแก่ข้าราชสำนักฝ่ายใน พระสนมกำนัลทั้งหลาย ให้มีกิริยามารยาท
ที่เหมาะสมกับศักดิ์ศรีของตนเองและเพื่อเชิดชูเกียรติยศกษัตริย์ ให้สนมทั้งหลายเห็นค่ารัตนของสตรี คือ สติปัญญาหนึ่ง รูปสิริโสภาคย์หนึ่ง มีชาติตระกูลทั้ง
ทรัพย์สมบัติหนึ่ง เช่น สอนเรื่องการแสดงคารวะยำเกรงด้วยการนบนอมหมอบคลานให้เรียบร้อยและให้ถูกต้องที่ต้องการ
นอกจากนี้ยังมีข้อความ ซึ่งแสดงถึงความสามารถของนางและข้อความ ซึ่งบันทึกราชประเพณีต่าง ๆ อีกมากมาย อาทิเช่นคำสอนที่น่าสนใจและ
มีคุณค่าคือ การหยั่งใจตนและการเรียนรู้อุปนิสัยของเจ้านายแล้วประพฤติตนให้สอดคล้อง อย่าเกียจคร้านในราชกิจทั้งปวงย่อมสอดส่งปัญญาหยั่งรู้พระราช
อัชฌาสัย แล้วจงประพฤติตามน้ำพระทัยให้ทุกสิ่ง อย่าเอาแต่ใจตัวเป็นประมาณ พึงมีอุตสาหุทุกเช้าค่ำ ทำราชการจงสม่ำเสมอ อย่าทำบ้างไม่ทำบ้างเป็นหมู่ ๆ
วับ ๆ แวม ๆ เหมือนแมลงหิ่งห้อย อย่ารักผู้อื่นมากกว่ารักตัว อย่ากลัวคนมีบุญมากเท่าเกรงเจ้า อย่าเข้าด้วยผู้กระทำความผิด จะเท็ดทูลสิ่งใดอย่าได้กล่าวเท็จแกม
จริง
นางนพมาศ หรือ ตำรับท้าวศรีจุฬาลักษณ์ เป็นวรรคดีฉบับสุดท้ายที่พูดถึงจริยธรรมในสมัยสุโขทัย ซึ่งเขียนโดยท้าวศรีจุฬาลักษณ์ เป็นหนังสือที่มี
คุณค่าท่างพิธีการ เพราะจะบอกถึงวิธีแรกนาขวัญทำอย่างไร มีพิธีพราหมณ์ นอกจากนี้ยังมีหลักสอนจริยธรรม กล่าวถึงหลักปกครองของพระมหากษัตริย์ และ
บุคคลทั่วไป กรมวรรณกรรมศิลปากร จัดให้อยู่ในสมัยสุโขทัยเพราะ
๑. มีการเรียบเรียงเป็นร้อยแก้ว มีภาษาคล้ายกันกับศิลาจารึก
๒. มีคำคมและสุภาษิตแทรก คล้ายกับสุภาษิตพระร่วง
๓. เหตุการณ์เป็นเรื่องที่เกี่ยวกับกรุงสุโขทัย
๔. มีข้อมูลเกี่ยวกับพิธีพราหมณ์ ซึ่งพิธีพราหมณ์ละเอียดมาก และเป็นแบบเก่า ไม่ได้กลับมาแบบอยุธยา เพราะฉะนั้นน่าจะเก่าถึงสมัยสุโขทัย
นางนพมาศผู้แต่งถึอกันว่าเป็นกวีหญิงคนแรก หนังสือเรื่องนางนพมาศนับว่าเป็นประโยชน์ในด้านการศึกษาทางประเพณีและขนบธรรมเนียมต่าง ๆ
ในราชสำนัก ตลอดจนความเป็นอยู่ของชาววัง เมื่อพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้า ฯ ทรงพระราชนิพนธ์พระราชพิธี ๑๒ เดือน ก็ทรงสอบสวนจากตำรับท้าว
ศรีจุฬาลักษณ์นี้ด้วย ในด้านสะท้อนให้เห็นถึงความรักสวยรักงามของหญิงไทย ก็นับว่าเรื่องนี้สะท้อนให้เห็นได้อย่างดี เพราะได้กล่าวถึงการประดิษฐ์ดอกไม้
และโคม ,พานขันหมาก เป็นต้น ส่วนในด้านอักษรศาสตร์มีประโยชน์ด้วย เพราะหนังสือเล่มนี้ถูกดัดแปลงต่อเติมในสมัยต่อมา เห็นได้ชัดที่วรรณกรรมเรื่องนี้
กล่าวถึงชาติมะริกา (อเมริกา) ซึ่งชาตินี้ยังไม่มีในสมัยสุโขทัย คำกลอนที่มีแทรกอยู่บางตอน ในวรรณคดีเรื่องนี้ ก็นับว่าเป็นคำกลอนที่แต่งแทรกขึ้นในสมัย
รัตนโกสินทร์นี่เอง เพราะตามหลักฐานคำประพันธ์ประเภทกลอนยังไม่มีในสมัยสุโขทัย และเชื่อกันว่า คำประพันธ์ประเภทกลอนน่าจะปรากฏครั้งแรกในสมัย
พระนารายณ์มหาราช อย่างไรก็ตามเนื้อเรื่องเกี่ยวกับพระราชพิธีต่าง ๆ นั้น เชื่อได้ว่าเป็นของสมัยสุโขทัย
คุณค่าและคุณประโยชน์:
๑. ด้านสังคม เล่าถึงชีวิตความเป็นอยู่และสภาพสังคมในสมัยสุโขทัย แสดงถึงความอุดมสมบรูณ์ของสุโขทัย ชื่น
ชอบทำบุญ และรื่นเริงจิตใจ
๒. ด้านวัฒนธรรมประเพณี กล่าวถึงการประพฤติปฏิบัติและการวางตนของสตรี ประเพณีของข้าราชการสำนัก
ฝ่ายใน
๓. ด้านอักษรศาสตร์ สำนวนอ่านง่าย ไพเราะ
๔. ด้านศิลปกรรม การประดิษฐโคมในการลอยประทีป การจัดพานพระ การจัดขันหมาก
๕. ด้านประวัติศาสตร์ ให้ความรู้เกี่ยวกับประวัติศาสตร์กรุงสุโขทัย โดยเฉพาะสมัยพระยาลิไท
๖. ด้านโบราณคดี ให้ความรู้ และรายละเอียดเกี่ยวกับพระราชพิธีต่าง ๆ
อ้างอิงแหล่งที่มา: ความรู้พื้นฐานทางวรรณคดี และวรรณกรรมเอกของไทย
ประจักษ์ ประภาพิทยากร
ภาควิชาภาษาไทย และภาษาตะวันออก
คณะมนุษย์ศาสตร์ ม.ศรีนครินทรวิโรฒ บางเขน
วรรณคดีสมัยสุโขทัย : http:// http://www.geocities.com/
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น